วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Sufficiency Economy



                                  
                                                 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


 เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง 
ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของ
ประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทาง สายกลาง 
มีความพอเพียง และมีความพร้อม
ที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัย
ความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง 
ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน 
 

ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิต
อย่างสมดุลและยั่งยืน 
เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง


The Sufficiency Economy is not a theory about 
how the economy of a country works, 
but rather a guide to making decisions 
that will produce outcomes that are beneficial 
to development.

 
                      
         

 Sufficiency Economy is a philosophy that stresses
 the middle path as an overriding principle for appropriate conduct by the populace at all levels. 

นิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" 
ประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" 
 บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"

 

“Sufficiency” means moderation, reasonableness, 
and the need of self-immunity for sufficient 
protection from impact arising from 
internal and external changes.

  ความพอประมาณ หมายถึง 
ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป 
ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 

This applies to conduct starting from the level of 
the families, communities, as well as 
the level of nation in development and  
administration so as to modernize in line 
with the forces of globalization

 
  
ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผล
ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย
ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ  

 


การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับ
ต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว 

 ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ 
และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน คือ  


1. เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ
 และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการทำงาน 

 
2. เงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ 
ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร 
การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ 
ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา

To achieve this, an application of knowledge 
with due consideration and prudence is essential. 
In particular great care is needed in 
for planning and implementation in every step.



ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถ
ประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน  และใช้จ่ายเงิน
ที่ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด 
ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น 
 โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน 
และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน 
ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน 
และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน 

At the same time, it is essential to strengthen 
the moral fiber of the nation, so that everyone, particularly public officials, academics, and 
business people at all levels, adhere first and 
foremost to the principles of honesty and integrity.

 

สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง 
ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ 
เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบัน
ได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่าย
อย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่า
ปัจจัยในการดำรงชีวิต 



In addition, a way of life based on patience, perseverance, diligence, wisdom and prudence 
is indispensable to create balance and be able 
to cope appropriately with critical challenges 
arising from extensive and rapid socioeconomic, environmental, and cultural changes in the world.


 

ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า 
"หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน 
ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ" 
และ 
"การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล 
เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"

 



ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น