วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

A song to practice 1


                                                      If We Hold on Together

                                                     By  Diana Ross   (1998)






 


  If We Hold on Together


Don't lose your way with each passing day
อย่ามัวพะวงหลงทาง อยู่กับวันเวลาที่ผันผ่าน
ไปในแต่ละวัน

You've come so far, don't throw it away
คุณได้เดินทางมาแสนยาวไกล อย่าได้ปล่อย
ให้เวลาสูญเปล่าไปอีกเลย

Live believing, dreams are for wearing
จงมีชีวิตอยู่ด้วยความเชื่อมั่น, ถักทอความฝัน
ไว้เป็นกำลังใจ

Wonders are waiting to start
สิ่งมหัศจรรย์กำลังรอเวลา เพื่อการเริ่มต้นใหม่

Live your story, Faith hope and glory
จงใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความศรัทธา ความหวัง
 และความงดงาม

Hold to the truth in your heart
ยึดถือความเป็นจริงในหัวใจของคุณ

If we hold on together
ถ้าเราจับมือกันไว้ แล้วไปด้วยกัน

I know our dreams will never die
ฉันรู้ว่า ความฝันของเราจะไม่มีวันสูญสิ้น

Dreams see us through to forever
ในความฝันนั้น จะมีเราอยู่ด้วยกันตราบจนนิรันดร์

Where clouds roll by, for you and I
ทุกแห่งหนที่ก้อนเมฆเคลื่อนลอยผ่าน
จะเป็นที่สำหรับคุณและฉัน

Souls in the wind must learn how to bend
กระแสทิศทางลม ยังต้องเรียนรู้
วิธีที่จะเปลี่ยนทิศทาง

Seek out a star, hold on till the end
มองหาดวงดาวสักดวง, ยึดมั่นไว้เป็นเป้าหมาย
เพื่อเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางนั้นให้จงได้

Valley, mountain, there is a fountain
ระหว่างทาง ยังมีหมู่บ้านซ่อนอยู่ในหุบเขา
อันอบอุ่นมีสายน้ำลำธารไหลเย็น

Washes our tears all away
คอยชะล้างคราบน้ำตาให้เหือดหาย

Words are swaying, someone is praying
เสียงท่วงทำนองเสนาะ จากใครบางคน
ที่กำลังสวดมนต์ภาวนา

Please let us come home to stay
ขอได้โปรดให้เราได้เข้าไปพักพิง
ในบ้านหลังนั้นด้วยเถิด

If we hold on together
ถ้าเราจับมือกันไว้ แล้วไปด้วยกัน

I know our dreams will never die
ฉันรู้ว่าความฝันของเราจะไม่มีวันสูญสิ้น

Dreams see us through to forever
ในความฝันนั้น จะมีเราอยู่ด้วยกันตราบจนนิรันดร์

Where clouds roll by, for you and I
ทุกแห่งหนที่ก้อนเมฆเคลื่อนลอยผ่าน,  
จะเป็นที่สำหรับคุณและฉัน

When we are out there in the dark
เมื่อใดที่เราออกไปยืนอยู่ในความมืดข้างนอกนั่น

We'll dream about the sun
เราจะร่วมกันฝันถึงแสงตะวัน

In the dark, we'll feel the light
แม้ในความมืด, แต่เราก็รู้สึกเหมือน
อยู่ในที่ที่มีแสงสว่าง

Warm our hearts everyone
บังเกิดความอบอุ่นขึ้นในหัวใจของเราทุกคน

If we hold on together
ถ้าเราจูงมือไปด้วยกัน

I know our dreams will never die
ฉันรู้ว่าความฝันของเราจะไม่มีวันสูญสิ้น

Dreams see us through to forever
ในความฝันนั้น จะมีเราอยู่ด้วยกันตลอดไป

As high as souls can fly
แม้จะสูงเพียงใด แต่เราจะล่องลอยไปให้ไกล 
เท่าที่ใจเราใฝ่ฝันถึง

The clouds roll by, for you and I
ทุกแห่งหนที่ก้อนเมฆลอยผ่าน
จะเป็นที่สำหรับคุณและฉันเสมอ

........................................ 


วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

My Profile






                   What is a Profile? 

        1. [n.] รูปหน้าด้านข้าง = side view
    2. [n.] รูปโครงร่าง = outline
    3. [n.] ประวัติโดยย่อ ข้อมูลโดยรวม   
                =   biography

                           


A profile is a type of feature story 
and usually focuses on a person. 
Profile is a somewhat specific term
 for a story about a person and, 
usually focuses on what's important 
or interesting about that person now. 

Profile คือรูปแบบของเรื่องราว  
สาระ  ข้อมูล  
และมักจะเจาะจงถึงคนคนหนึ่ง  
อย่างไรก็ตาม profile มักหมายถึง
เรื่องราวที่กล่าวถึงสิ่งสำคัญๆ หรือ
สิ่งที่คนคนหนึ่งให้ความสนใจ


                                From , former About.com Guide



New Words


            1. feature  (n.)   

ลักษณะ หน้าตา รูปหน้า,  รูปพรรณสัณฐาน, เค้าโครงหน้า[n.] สารคดีพิเศษ บทความพิเศษ
 [syn.] article,column,editorial,letters to the editor
            2. focus (v.) 
 จุดสนใจ จุดศูนย์รวม, จุดสำคัญ, จุดหลัก, หัวใจ 
[syn.] centre,heart,hub
              3. specific (a.) 
  [n. adj.] เจาะจง, โดยเฉพาะ, แน่นอน, เป็นลักษณะเฉพาะ  
 [syn.] special

            4. important (a.) 
 [adj.] สำคัญ [syn.] considerable,significant
            5. interesting (a.) 
 [adj.] น่าสนใจ น่าดึงดูดใจ 
[syn.] appealing,attractive,intriguing





My name is………………………………….…
          I study in M. 1/….. number…… 
My  nickname is ……….
         My birthday is  the  sixth  of July, 
nineteen ..........................
         I live in …………..Amphur Muang,  Khon Kaen.
                  My telephone  number is  043 – 224-265  
          I am ….. kilograms  and …….. c.m. centimetre
          There are ………. people  in my family.
          I like to eat………and…………
          I like ………… (Ken and Nadet) 
I like Body Slam and Singular.
          I like  black color  and  cats.     
 I like  to be  a chef.

My motto is
เพราะเริ่มต้นแตกต่าง  ผลจึงแตกต่าง




Resume



เรซูเม (résumé) 
หรือในชื่อไทยว่า 
"ประวัติการเรียนและประวัติการงาน" 

เรซูเมเองนั้นจะมีเรียกกันว่า ซีวี (CV - curriculum vitae) 
โดยคำว่า"เรซูเม" เป็นคำเรียกของฝั่งสหรัฐฯ 
 แต่เขาอ่านกันว่า เร-เซอ-เม ในขณะเดียวกัน
ทางฝั่งอังกฤษและแถบยุโรปเรียกกันว่า "ซีวี"

 
คำอ่านของเรซูเม ถ้าสังเกตตัวสะกดคำว่า résumé 
(ใครได้อ่านเรื่อง e นั่นและ é นี่ คง จะอ๋อกันแล้ว) ที่ตัว é 
ออกเสียง [เอ] ในขณะเดียวกันคำว่าเรซูเม
มักนิยมพิมพ์ resume กันเพราะตัว é มันพิมพ์กันยาก 
 ซึ่งอาจจะสับสนกับคำว่า resume (รีซูม) 
ที่แปลว่า กลับมาดังเดิม ได้ 

งานท่วมหัว
   ภาพจาก MichaelMarlatt cc-by-nc-sa
เรซูเม 
คือ ประวัติการเรียนและประวัติการงาน ซึ่งเป็นเอกสารที่รวบรวม ประวัติ
การเรียนและการทำงาน
ของเราทั้งหมดไว้อย่างสรุป (เน้นอย่างสรุป) โดยใช้เป็นเอกสารอีกแผ่นในการยื่นสมัครงานร่วมกันจดหมายสมัครงาน เพื่อบอกให้ทางบริษัทรับรู้ว่าเราคือใครได้ภายในสิบวินาทีที่อ่าน
เรซูเมของเรา ส่วนประกอบของเรซูเมทั่วไปจะประกอบด้วย

จุดประสงค์ - จุดประสงค์ของการสมัครงาน บอกสั้นๆ ว่า
เราต้องการทำอะไรให้กับบริษัท บอกว่าเราจะเป็นส่วนไหน
ในบริษัท ไม่ต้องบอกจุดประสงค์ เป้าหมายชีวิตเราว่า 
ห้าปีสิบปีจะทำอะไร อยากเปิดบริษัทของตัวเอง  อยากรีไทร์
อายุ 45 พวกนี้ไม่ต้องบอก พยายามเก็บประโยคส่วนนี้สั้นๆ
 ซักหนึ่งหรือสองประโยค
 
 
เรียนจบจากไหน - โดยใส่ว่าเรียนจบจากที่ไหน เรียนช่วงระหว่าง
ปีไหนถึงปีไหน และเกรดเฉลี่ยตอนจบเท่าไร โดยส่วนใหญ่
ใส่สถานที่เรียนเฉพาะระดับอุดมศึกษา หรืออนุปริญญา 
โดยไม่จำเป็นต้องใส่ระดับอนุบาล ประถม หรือแม้แต่มัธยม 
 
เพราะคนรับสมัครงานเขาไม่สนใจว่าคุณจะจบอนุบาลที่ไหน 
ทำงานที่ไหนมาบ้าง - ใส่รายละเอียดชื่อบริษัท ตำแหน่งที่ทำงาน และหน้าที่รับผิดชอบของงานที่ทำ ถ้าทำหลายที่ ให้ใส่บริษัทล่าสุดไว้บนสุด และถ้าทำงานหลายตำแหน่งในบริษัท ก็ให้ใส่แยกกัน 
โดยอธิบายรายละเอียดว่า ได้ทำอะไรให้บริษัทบ้างในบริษัทนั้น
 โดยใส่เฉพาะส่วนเด่นๆ เพียงพอ พวกชงกาแฟ 
กับถ่ายเอกสารก็คงไม่ต้องใส่ไป
 

ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ - ปัจจุบันส่วนนี้ค่อนข้างสำคัญ
แล้วบอกไปในเรซูเมว่า มีความรู้ความสามารถด้านไหน 
ทำโปรแกรมอะไรเป็นบ้าง และที่สำคัญอย่าโม้มาก 
 (โม้เล็กน้อยพองาม) ถ้าโม้มาก ตอนไปสัมภาษณ์รับรอง
โดนจับได้ไม่ยาก นอกจากนี้ถ้าสมัครงานในบริษัทคอมพิวเตอร์ 
ก็ไม่ต้องบอกไปว่าใช้วินโดวส์ได้ บอกเฉพาะเนื้อๆ เป็นพอ
 
กิจกรรมและรางวัลที่ได้รับ - บอกว่าได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาวิทยาลัย หรือกิจกรรมของบริษัท ได้ร่วมทำอะไรบ้าง 
แสดงถึงตัวคุณว่าสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้แค่ไหน 
มีความเป็นผู้นำแค่ไหน และแสดงว่าคุณทำได้
 
 
 
นอกเหนือจากการเรียนอย่างเดียว
ข้อมูลติดต่อ - อย่าลืมข้อมูลที่ติดต่อตัวคุณได้ เบอร์โทรศัพท์ 
อีเมล ที่อยู่ และอย่าลืมใส่ชื่อนามสกุลตัวเองลงไป สัดส่วนกับ
ภาพถ่ายไม่ต้องใส่ (แต่ได้ยินว่าในไทยบางทีให้ใส่รูปถ่ายด้วย 
เพราะคนรับสมัครงาน จะได้ตัดสินคนสมัครจากหน้าตา
นอกเหนือจากความสามารถ  )

ความยาวของเรซูเมไม่ควรเกินหนึ่งแผ่น หรืออย่างมากสุด
ก็ไม่เกินสอง เคยเห็นบางคนเขียนเรซูเมมาห้าหน้า ประมาณว่า
เล่นใส่ทุกอย่างตั้งแต่เกิดเลย อันนี้ก็ไม่จำเป็น คนรับสมัครงาน
เขาไม่สนใจว่าคุณจะเรียนจบอนุบาล หรือประถมจากไหน 
 หรือแม้แต่เรียนจบมัธยมจากไหนด้วยซ้ำ (แต่บางแห่งในไทย 
 พวกที่เล่นสีก็จะชอบถ้าจบมาที่เดียวกัน) 

 

สุดท้ายข้อคิดในการเขียนเรซูเม ให้สมมุติตัวเองเป็นคนรับสมัคร
และกำลังอ่านเรซูเม ถามตัวเองดูว่า ถ้าคนแบบนี้มาสมัคร
 เราจะรับเขาไหม แล้วเราจะรู้ได้เองว่า ข้อมูลไหนที่ไม่ควรใส่
ให้ตัดออก ข้อมูลไหนยาวและย่อได้ให้ทำให้กระชับ และข้อมูลไหน
ที่ไม่ชัดเจนให้เขียนเพิ่มเติมอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

ข้อมูลทั้งหมดมาจากประสบการณ์สมัครงานในอเมริกา 
ซึ่งรายละเอียดย่อยเกี่ยวกับเรซูเมในไทย อาจลองกูเกิลเพิ่มดูได้ 
 ใครสนใจเกี่ยวกับเรื่องสมัครงาน   ลองแวะดูได้ที่ http://itshee.exteen.com/20081123/entry





7 องค์ประกอบสำคัญของประวัติย่อ
เนื้อหาของ ประวัติย่อ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่ทราบเรื่องเหล่านี้แล้ว จะเขียน Resume ให้ดีได้ยาก 

ส่วนประกอบของประวัติย่อ
  1. หัวเรื่อง (Heading) ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุด ส่วนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก (Low case letters) 
  2. จุดมุ่งหมาย (Objective) จุดมุ่งหมายหรือตำแหน่งที่ต้องการสมัคร (Career objective/Position sought) ถ้าต้องการสมัครในตำแหน่งใด ก็ให้ระบุชื่อตำแหน่งนั้น หรือไม่ก็อาจจะบอกเป็นสายงานที่ตนต้องการทำก็ได้
  3. การศึกษา (Education) เช่น จบจากไหน สาขาวิชาอะไร จบเมื่อไร แล้วให้ระบุการศึกษา จบมาล่าสุดไว้ก่อน กล่าวคือ อาจจะเรียงการศึกษา ชั้นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ซึ่งโดยมากขั้นต่ำสุด ระบุแค่ชั้นมัธยม ไม่ต้องไปถึงชั้นประถม ผลการเรียนเป็นอย่างไร การศึกษาหลักสูตรพิเศษอื่นๆ มีอะไรบ้าง อะไรคือวิชาเอก (Major) วิชาโท (Minor) ส่วนปริญญาที่ได้รับ ก็ไม่ควรใช้คำย่อ ควรมีคำเต็มกำกับ และในกรณี ที่จบจากต่างประเทศ ก็ควรระบุประเทศ ที่จบการศึกษานั้นๆ มาด้วย เช่น Master of Business Administration (MBA), USA, (ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา)
    ส่วนการเขียนชื่อสถาบันการศึกษา และวิชาที่จบนั้น เราสามารถดูได้จากใบแสดงวุฒิ หรือผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น Degree Certificate, Transcript หรือ Mark Sheet ก็ได้ หรือถ้าเขียน เป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก ก็อาจจะดูได้จากบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ หรือถามจากผู้ที่รู้ก็ได้
  4. ประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ในการทำงานนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการสมัครงาน เพราะนายจ้างสามารถใช้รายละเอียดเหล่านี้ นำไปพิจารณาเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า เหมาะสมกับงานในหน่วยงานของตนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วนักศึกษาจบใหม่ จะมีประสบการณ์น้อย หรือแทบไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควร ระบุงานที่เคยทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทำเต็มเวลา (Full-time) หรือทำไม่เต็มเวลา (Part-time) ก็ตาม หรือแม้แต่งานที่ทำโดยไม่มีค่าจ้างตอบแทนก็ตาม ซึ่งก็อาจจะเป็นกิจกรรมพิเศษ หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Special-Activities Or Extra-curriculum activities) เช่น เคยเป็นผู้นำนักศึกษา หรือหัวหน้าทีมนักกีฬา เป็นต้น
    ในกรณีที่เคยทำงานเต็มเวลา (Full-time employment) มาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงงานที่ทำไม่เต็มเวลา หรือกิจกรรมอื่นๆ มากนัก และควรบอกรายละเอียด ที่สำคัญของงานที่เคยทำคือ
    • วันเดือนปีที่เคยทำงาน (Date of employment)
    • ชื่อและที่อยู่ของสถานที่ว่าจ้าง (Company''s name and address)

  5. คุณสมบัติพิเศษ (Special Qualifications) เกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมี ถ้าไม่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ก็ตัดออกไป คุณสมบัติพิเศษที่กล่าวถึงนี้ เช่น ความสามารถทางด้านภาษา ด้านการเขียน หรือขับรถยนต์ได้ รู้เส้นทางดี เป็นต้น
  6. รายละเอียดส่วนตัว (Personal Details) รายละเอียดส่วนตัวประกอบด้วย
    • Sex = เพศ
    • age = อายุ
    • Date of birth = วันเดือนปีเกิด
    • height = ความสูง
    • weight =น้ำหนัก
    • health = สุขภาพ (ใช้ good health หรือ Excellent)
    • address = ที่อยู่
    • Marital status = สถานภาพการสมรส (Married/Single) หรืออาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม
    • religion = ศาสนา
    • Military status = สถานภาพทางทหาร
    • Place of birth = สถานที่เกิด
    • nationality = สัญชาติ
    • race = เชื้อชาติ
    และในส่วนนี้อาจจะเพิ่มงานอดิเรก (Hobbies) เข้ามาอีกก็ได้ถ้ามี เช่น ว่ายน้ำ (Swimming) ไต่เขา (Hiking) หรือสะสมแสตมป์ (Stamp-collecting) เป็นต้น
  7. บุคคลอ้างอิง (References) บุคคลที่เป็นนายจ้างเก่าของเรา จะเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เป็นบุคคลอ้างอิง แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้ออกจากงาน กลัวนายจ้างจะรู้ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็น ครู อาจารย์ที่เคยสอน เพื่อนร่วมธุรกิจ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ต้องไม่ใช่ญาติ หรือเพื่อนสนิทของเรา และที่เรียกว่าบุคคลอ้างอิง อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่จะสามารถ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของเราได้ และควรอ้างมา 2-3 ท่าน พร้อมทั้งที่อยู่ที่จะติดต่อได้ และอาชีพของเขาเหล่านั้น 
  8.  
     
     ขอบคุณข้อมูลจาก : itshee.exteen.com   ภาพประกอบจาก  : /www.google.co.th

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จัก Tenses



   

  Tenses ในภาษาอังกฤษ  มีทั้งหมด  3 ประเภท   ประเภทละ 4 ชนิด  ดังนี้



I. Present Tenses    
                           1.  Present Simple Tense
                           2.  Present Continuous Tense
                           3.  Present Perfect Tense
                           4.  Present Perfect Continuous Tense

II. Past Tenses    
                           1.  Past Simple Tense
                           2.  Past Continuous Tense
                           3.  Past Perfect Tense
                           4.  Past Perfect Continuous Tense

III. Future Tenses    
                           1.  Future Simple Tense
                           2.  Future Continuous Tense
                           3.  Future Perfect Tense
                           4.  Future Perfect Continuous Tense



                          I.

           

 

 

1. Present Simple Tense
 (ปัจจุบันกาลปกติ)

           โครงสร้าง  :   Subject + Verb 1

1)ใช้พูดถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หรือ เกิดขึ้นเป็นประจำซ้ำไปซ้ำมา เช่น

I drink a lot of water.       (ฉันดื่มน้ำเยอะ)

2)ใช้ กับการกระทำที่ ทำจนเป็นอุปนิสัย หรือ ใช้เพื่อแสดงความถี่ของการกระทำต่างๆ โดยเรามักใช้กับ คำกริยาวิเศษณ์แสดงความถี่ (Adverbs of Frequency) มาช่วยในการแสดงความถี่ของการกระทำ เช่น

I always do my homework.      (ฉันทำการบ้านของฉันเสมอ)

3)ใช้ กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เป็นความจริงตลอดไป (fact) หรือ เป็นกฎทางธรรมชาติ (natural law) โดยไม่จำเป็นว่าการกระทำนั้นๆ กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดหรือไม่ เช่น

Snow is white.     (หิมะมีสีขาว)

4)ใช้เมื่อต้องการพูดถึง ตารางเวลา (Schedule) หรือ แผนการ (Plan) ที่ได้วางไว้ เช่น

The meeting starts from 8.30 am until 10.00 pm.
                                (การประชุมเริ่มตอนแปดโมงครึ่งตอนเช้าไปยังสี่ทุ่ม)

5)ใช้ในการ แนะนำ บอกแนวทาง หรือ สอน เช่น

How do I get to the nearest mall? Go straight and turn left on the next corner.
      (ฉันจะไปยังห้างที่ใกล้ที่สุดได้อย่างไร เดินตรงไปแล้วเลี้ยวซ้ายตรงหัวมุมข้างหน้า


                        
                            
  วิธีการสร้างประโยค Present Simple Tense
โครงสร้าง
Subject + Verb1
บอกเล่า
I / You / We / They
eat
seafood.
He / She / It
knows
about you.
โครงสร้าง
Subject + do/does + not + Verb1
ปฏิเสธ
I / You / We / They
do
not
eat
seafood.
He / She / It
does
not
know
about you.
โครงสร้าง
Do/Does + Subject + Verb1?
คำถาม
Do
I / you / we / they
eat
seafood?
Does
he / she / it
know
about you?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + do/does + Subject +Verb1?
คำถาม
Wh-
Why
do
I / you / we / they
eat
seafood?
What
does
he / she / it
know
about you?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ do/does not คือ don’t และ doesn’t

 

 

 

 

 

2. Present Continuous Tense  
(ปัจจุบันกาลต่อเนื่อง)


    โครงสร้าง  :   
Subject +is/am/are + V -ing

1)ใช้ กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูด ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
และจบในอนาคต โดยอาจจะใช้ Adverbs of Time (คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา) บางคำ
 เช่น now, at the moment, right now, at present, these days เป็นต้น
 เข้ามาช่วยในประโยคด้วย เช่น

She is going to the supermarket at the moment.
(หล่อนกำลังไปซุปเปอร์มาร์เกตอยู่ตอนนี้)

2)ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น

I am meeting my boss this evening.
(ฉันจะพบกับเจ้านายเย็นนี้)

 3)ใช้แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ ผู้พูดมั่นใจว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน เช่น

He is going to China tonight.
(เขาจะเดินทางไปยังประเทศจีนคืนนี้)

4)กริยา บางตัวไม่สามารถใช้ในรูปของ Present Continuous Tense ได้
 ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะกำลังเกิดขึ้น หรือ ดำเนินอยู่ก็ตาม โดยเรามักใช้ในรูปของ
 Present Simple Tense กับคำกริยากลุ่มนี้แทน ซึ่ง ได้แก่
            
                     4.1) กริยาที่แสดงถึงประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น see, hear, feel, taste, smell

I smell something bad. (ถูก)
I am smelling something bad. (ผิด)

                     4.2) กริยาที่แสดงความนึกคิด ความรู้สึก เช่น know, understand, think, 
 believe, agree, notice, doubt, suppose, forget, remember, consider, recognize,
 appreciate, forgive

I believe her. (ถูก)
I am believing her. (ผิด)

                     4.3) กริยาที่แสดงความชอบและความไม่ชอบ เช่น like, dislike, love, 
hate, prefer, trust, detest

He likes a woman with long hair. (ถูก)
He is liking a woman with long hair. (ผิด)

                     4.4) กริยาที่แสดงความปรารถนา เช่น wish, want, desire, prefer

 I want to get married. (ถูก)
 I am wanting to get married. (ผิด)

                     4.5) กริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น possess, have, own, belong

 She has no children. (ถูก)
She is having no children. (ผิด)

 

                           

 

วิธีการสร้างประโยค Present Continuous Tense

โครงสร้าง
Subject + is/am/are + V.-ing
บอกเล่า
I am talking to her.
You / We / They are reading magazines.
He / She / It is sleeping on the couch.
ครงสร้าง
Subject + is/am/are + not + V.-ing
ปฏิเสธ
I am not talking to her.
You / We / They are not reading magazines.
He / She / It is not sleeping on the couch.
โครงสร้าง
Is/Am/Are + Subject + V.-ing?
คำถาม
Am I talking to her?
Are you / we / they reading magazines?
Is he / she / it sleeping on the couch?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + is/am/are + Subject + V.-ing?
คำถาม
Wh-
Who
am I talking to?
What
are you / we / they reading?
Where
is he / she / it sleeping?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ is / am / are not คือ isn’t, aren’t และ aren’t

                            

 

 

3.  Present Perfect Tense  
 (ปัจจุบันกาลสมบูรณ์)

          โครงสร้าง  :   
Subject +has/have + V3

1) ใช้กับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในอดีต และดำเนินต่อเนื่องมายังปัจจุบัน และมีแนวโน้น

ที่จะดำเนินต่อไปได้อีกในอนาคต เช่น 

I have had a lot of toys.
ฉันมีของเล่นมากมาย (และอาจจะมีของเล่นเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต)

2) ใช้กับเหตุการณ์ในอดีตที่ เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังส่งผลมายังปัจจุบัน เช่น


It has stopped raining.
ฝนหยุดตกแล้ว (แต่ถนนยังเปียกอยู่)

3)ใช้ พูดถึง เหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นซ้ำๆกัน ในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างอดีตและปัจจุบัน

 โดยมักใช้คำว่า many/several times, a lot of times, …times, again and again, 
over and over และอื่นๆ เช่น

I’ve read this book more than 3 times.
(ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้มามากกว่าสามรอบแล้ว)

4)ใช้ กับเหตุการณ์ที่ เพิ่งสิ้นสุดลง โดยไม่ระบุเวลา ซึ่งมักใช้กับ just, already และ yet  yet มักใช้ในประโยคปฏิเสธ ส่วน just และ already นั้น มักจะใช้กันในประโยคบอกเล่า โดยวางไว้อยู่หน้ากริยาหลัก
เช่น 


I haven’t finished my homework yet.
(ฉันยังทำการบ้านของฉันไม่เสร็จเลย)

5)ใช้เพื่อบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งมักใช้กับ just, recently, lately และอื่นๆ


The meeting has just started.
(การประชุมเพิ่งจะเริ่มขึ้น)

 

                  

วิธีการสร้างประโยค Present Perfect Tense

ครงสร้าง
Subject + has/have + Verb 3
บอกเล่า
I / You / We / They have talked to her.
He / She / It has slept on the couch.
โครงสร้าง
Subject + has/have + not + Verb 3
ปฏิเสธ
I / You / We / They have not talked to her.
He / She / It has not slept on the couch.
โครงสร้าง
Has/Have + Subject + Verb 3?
คำถาม
Have I / you / we / they talked to her?
Has he / she / it slept on the couch?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + has/have + Verb 3?
คำถาม
Wh-
Who
have I / you / we / they talked to?
Where
has he / she / it slept?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ has/have not คือ hasn’t และ haven’t

 

 

 

                           

 

 

4. Present Perfect Continuous Tense
(ปัจจุบันกาลสมบูรณ์ต่อเนื่อง)

โครงสร้าง  :  
 Subject +has/have +been + V -ing 

1)คำ กริยาที่ใช้กับ Present Perfect Continuous Tense นั้น จะต้องเป็นคำกริยา

ที่แสดงถึงความต่อเนื่อง หรือ กริยาที่แสดงถึงการกระทำที่นาน (long action) เท่านั้น
 เช่น play, look, watch, learn, live, wait, eat และอื่นๆ โดยไม่สามารถใช้กับกริยา
ที่ไม่แสดงถึงความต่อเนื่อง หรือ กริยาที่แสดงถึงการกระทำที่จบในทันทีได้ เช่น 
stop, prefer, arrive เป็นต้น เช่น

I have been playing games since afternoon.
(ฉันเล่นเกมส์มาตั้งแต่ตอนบ่าย)

2)ใช้กับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในอดีตต่อเนื่องมายังปัจจุบัน และยังคงดำเนินต่อไปอีก

ในอนาคต โดยใช้กับคำว่า since และ for เช่น

She has been sitting here for an hour.
(เธอนั่งอยู่ตรงนี้มาเป็นเวลาชั่วโมงหนึ่งแล้ว)

3) Present Perfect Continuous Tense อาจนำมาใช้ได้กับเหตุการณ์ที่ สิ้นสุดลงแล้ว

 แต่ส่งผลมายังปัจจุบัน เช่น

You look tired. Have you been sleeping properly?
(คุณดูเหนื่อยจัง คุณได้นอนหลับมาเพียงพอหรือเปล่า)

4) Present Perfect Continuous Tense จะ เน้นถึงความต่อเนื่องของการกระทำ

 (Continuity of action) มากกว่า Present Perfect Tense

วิธีการสร้างประโยค Present Perfect Continuous Tense       

โครงสร้าง
Subject + has/have + been + V.-ing
บอกเล่า
I / You / We / They have been working in the office.
He / She / It has been watching the television.
โครงสร้าง
Subject + has/have + not + been + V.-ing
ปฏิเสธ
I / You / We / They have not been working in the office.
He / She / It has not been watching the television.
โครงสร้าง
Has/Have + Subject + been + V.-ing?
คำถาม
Have I / you / we / they been working in the office?
Has he / she / it been watching the television?
ครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + has/have + Subject + been + V.-ing?
คำถาม
Wh-
Who
have I / you / we / they been talking to?
Where
has he / she / it been sleeping?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ has/have not คือ hasn’t และ haven’t

 

 

 


 

 

 

                               II.

   

 

1. Past Simple Tense (อดีตกาลปกติ)

 โครงสร้าง  :   Subject + Verb ช่อง 2

1) ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เกิดขึ้นในอดีตและสิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งมักจะมีคำ
หรือวลีที่บ่งบอกถึงเวลาในอดีตในประโยคเสมอ เช่น yesterday, last…, … ago, 
once, this morning, when I was… และอื่นๆ เช่น

I met a beautiful girl last night.
(ฉันเจอผู้หญิงสวยคนหนึ่งเมื่อคืนนี้)

2) ใช้แสดงถึงการกระทำที่เป็นนิสัยหรือเกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต ซึ่งสิ้นสุดลงแล้ว
 โดยมักมี Adverbs of Frequency (กริยาวิเศษณ์แสดงความถี่) อยู่ในประโยคด้วย
 เช่น often, always, sometimes และอื่นๆ ซึ่งมักจะมี Adverb of Time 
(กริยาวิเศษณ์แสดงเวลา) ระบุถึงเวลาในอดีตด้วย เช่น last month, last year และอื่นๆ เช่น

I cooked every night last month.
(ฉันทำอาหารทุกคืนเมื่อเดือนที่แล้ว)

วิธีการสร้างประโยค Past Simple Tense  

โครงสร้าง
Subject + Verb2
บอกเล่า
I / You / We / They went to the museum.
He / She / It took a bus to the school.
โครงสร้าง
Subject + did + not + Verb1
ปฏิเสธ
I / You / We / They did not go to the museum.
He / She / It did not take a bus to the school.
โครงสร้าง
Did + Subject + Verb1?
คำถาม
Did I / you / we / they go to the museum.?
Did he / she / it take a bus to the school?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + did + Subject +Verb1?
คำถาม
Wh-
Where
did I / you / we / they go?
How
did he / she / it go to the school?
*เราใช้ “did” เข้ามาช่วยในการสร้างประโยคคำถามหรือปฏิเสธ โดยกริยาแท้นั้นจะต้องอยู่ในรูปกริยาช่องที่ 1 เท่านั้น
*คำปฏิเสธรูปย่อของ did not คือ didn’t

 

                                  


2. Past Continuous Tense (อดีตกาลต่อเนื่อง)

โครงสร้าง  :   
Subject +was/were + V -ing  

1) ใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นซ้อนกันในอดีต โดย… 
เหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นและดำเนินอยู่ จะใช้ Past Continuous Tense 
เหตุการณ์สั้นๆนั้นได้เข้ามาแทรก จะใช้ Past Simple Tense  เช่น

 I met you boyfriend in the park while I was jogging.
(ฉันเจอแฟนคุณในสวนตอนฉันกำลังวิ่งจ๊อกกิ้งอยู่)

2) ใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ เกิดขึ้นในอดีต ในช่วงเวลาที่บ่งไว้อย่างชัดเจน เช่น

I was taking a shower at eight o’clock last night.
(ฉันกำลังอาบน้ำอยู่เมื่อวานตอนสองทุ่ม)

 3) ใช้เพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นควบคู่กันไป ณ เวลาเดียวกัน (Parallel Actions) โดย เหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์จะใช้ Past Continuous Tense เช่น

I was sleeping while the teacher was teaching,
(ฉันนอนหลับขณะที่คุณครูกำลังสอนอยู่)

4) เรามักใช้คำว่า when, while, as ใน Past Continuous Tense เพื่อเชื่อมเหตุการณ์ ต่างๆเข้าด้วยกัน เช่น

As I was going to the church, he was going to the sea.
(ขณะที่ฉันกำลังเดินทางไปที่โบสถ์ เขาก็กำลังไปทะเล)
                                     

วิธีการสร้างประโยค Past Continuous Tense

โครงสร้าง
Subject + was/were + V.-ing
บอกเล่า
I / He / She / It was talking to her.
You / We / They were reading magazines.
โครงสร้าง
Subject + was/were + not + V.-ing
ปฏิเสธ
I / He / She / It was not talking to her.
You / We / They were not reading magazines.
โครงสร้าง
Was/Were + Subject + V.-ing?
คำถาม
Was I / he / she / it talking to her?
Were you / we / they reading magazines?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + was/were + Subject + V.-ing?
คำถาม
Wh-
Who
was I / he / she / it talking to?
What
were you / we / they reading?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ was/were not คือ wasn’t และ weren’t


                                



3. Past Perfect Tense
 (อดีตกาลสมบูรณ์)

โครงสร้าง  :   Subject +had + V 3  

1)ใช้ กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น และสิ้นสุดลงแล้วในอดีตทั้ง 2 เหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์หนึ่งได้สิ้นสุดลงก่อนหน้าอีกเหตุการณ์ โดย…
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงก่อน จะใช้ Past Perfect Tense
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงทีหลัง จะใช้ Past Simple Tense เช่น


We had gone out before he came.
(เราออกไปข้างนอกกันแล้วก่อนที่เขาจะมา)

2) Past Perfect Tense มักจะใช้กับคำว่า before, after, already, just, yet, until, till, as soon as, when, by the time, by… (เช่น by this month) และอื่นๆ โดยจะมีอาจวิธีการใช้ต่างกันไป เช่น 

Before + Past Simple Tense + Past Perfect Tense :

Before I went to the school, I had had a car accident.
(ก่อนที่ฉันจะไปโรงเรียน ฉันได้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์)

After + Past Perfect Tense + Past Simple Tense
:

After I had finished my homework, I went to the Internet Café.
(หลังจากที่ฉันทำการบ้านเสร็จ ฉันก็ไปยังร้านอินเตอร์เน็ต)

By  he time + Past Simple Tense + Past Perfect Tense :


By the time he came here, I already had finished my dinner.
(ตอนที่เขามาถึง ฉันก็กินข้าวมื้อเย็นของฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว)

                                       

วิธีการสร้างประโยค Past Perfect Tense

ครงสร้าง
Subject + had + Verb 3
บอกเล่า
They had gone to the shopping mall.
She had found her wallet.
ครงสร้าง
Subject + had + not + Verb 3
ปฏิเสธ
They had not gone to the shopping mall.
She Had not found her wallet.
ครงสร้าง
Had + Subject + Verb 3?
คำถาม
Had they gone to the shopping mall?
Had she found her wallet?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + had + Verb 3?
คำถาม
Wh-
Where
had they gone?
What
had she found?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ had not คือ hadn’t


                                          


4. Past Perfect Continuous Tense
(อดีตกาลสมบูรณ์ต่อเนื่อง)

โครงสร้าง  :   
Subject +had+been + V -ing  

1) ใช้กับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นและดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งในอดีต โดยอาจใช้กับคำว่า since และ for เช่น

She had been shouting for help since she fell down the stairs.
(เธอได้ร้องขอความช่วยเหลือตั้งแต่เธอได้ตกบันไดลงมา)

2) ใช้พูดถึงการกระทำที่ เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาในอดีต และได้สิ้นสุดลงแล้ว เช่น

I had been smoking for 5 months.(ฉันเคยสูบบุหรี่มาเป็นเวลาห้าเดือน)

3) Past Perfect Continuous Tense จะเน้นถึงความต่อเนื่องของการกระทำ (Continuity of action) มากกว่า Past Perfect Tense

 That man had been eating pizza when I came in.


วิธีการสร้างประโยค Past Perfect Continuous Tense

โครงสร้าง
Subject + had + been + V.-ing
บอกเล่า
You had been driving for almost two hours.
He had been surfing the internet since this morning.
ครงสร้าง
Subject + had + not + been + V.-ing
ปฏิเสธ
You had not been driving for almost two hours.
He had not been surfing the internet since this morning.
โครงสร้าง
Had + Subject + been + V.-ing?
คำถาม
Had you been driving for a long time?
Had he been surfing the internet?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + had + Subject + been + V.-ing?
คำถาม
Wh-
How long
had you been driving?
What
had he been doing since this morning?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ had not คือ hadn’t



                               III.

                         



 1. Future Simple Tense (อนาคตกาลปกติ)

 โครงสร้าง  : 
  Subject + will + Verb 1 

1) ใช้พูดถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมักใช้กับ Adverb of Time เช่น tomorrow, next…, soon, shortly, later และอื่นๆ เช่น

I will go to the hospital tomorrow.
(ฉันจะไปโรงพยาบาลในวันพรุ่งนี้)

2) ใช้กับประโยคที่ ตัดสินใจในขณะที่พูด โดยไม่ได้วางแผนมาก่อน เช่น

I think I will buy a new mobile phone next week.
(ฉันคิดว่าฉันจะซื้อมือถือเครื่องใหม่อาทิตย์หน้า)

3) เราอาจใช้ “to be going to” แทน will/shall ใน Future Simple Tense เมื่อ…  •กล่าวถึง แผนการ หรือ ความตั้งใจ เช่น

He is going to have a new pet next month.
(เขากำลังจะได้สัตว์เลี้ยงตัวใหม่ในเดือนหน้า)


วิธีการสร้างประโยค Future Simple Tense

โครงสร้าง
Subject + will/shall + Verb1
บอกเล่า
They wil/shalll go to the gym tonight.
She will/shall cook today.
โครงสร้าง
Subject + will/shall + not + Verb1
ปฏิเสธ
They will/shall not go to the gym tonight.
She will/shall not cook today.
โครงสร้าง
Will/Shall + Subject + Verb1?
คำถาม
Will/Shall they go to the gym tonight?
Will/Shall she cook today?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + will/shall + Subject +Verb1?
คำถาม
Wh-
Where
will/shall they go tonight?
What
will/shall she cook today?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ will/shall not คือ won’t และ shan’t

 
2. Future Continuous Tense 
(อนาคตกาลต่อเนื่อง)


 โครงสร้าง  :  
 Subject +will + be + V-ing
 
1) ใช้กับเหตุการณ์ที่ กำลังจะเกิดขึ้นตามวันหรือเวลาที่กำหนดไว้ในอนาคตอย่างชัดเจน โดยจะสื่อความหมายออกมาว่า เมื่อถึงวันและเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เราก็จะเห็นเหตุการณ์นั้นดำเนินอยู่ เช่น

He will be finishing his work at 7 o’clock.
(เขาจะทำงานของเขาเสร็จตอนเจ็ดโมงเช้า)

2) ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน เช่น

You will be laughing when you see her with that dress.
(คุณจะต้องขำแน่ๆถ้าคุณเห็นเธออยู่ในชุดนั้น)

 3) ใช้กับ เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่เกิดไม่พร้อมกันในอนาคต โดย… 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน จะใช้ Future Continuous Tense
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลัง จะใช้ Present Simple Tense   เช่น

 I will be watching movies when you cook dinner.
(ฉันจะกำลังดูหนังอยู่ในขณะที่คุณทำกับข้าวมื้อเย็น)


วิธีการสร้างประโยค Future Continuous Tense

ครงสร้าง
Subject + will/shall + be + V.-ing
บอกเล่า
They will/shall be doing their homework.
He will/shall be driving a car.
ครงสร้าง
Subject + will/shall + not + be + V.-ing
ปฏิเสธ
They will/shall not be doing their homework.
He will/shall not be driving a car.
โครงสร้าง
Will/Shall + Subject + be + V.-ing?
คำถาม
Will/Shall they be doing their homework?
Will/Shall he be driving a car?
ครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + will/shall + Subject + be + V.-ing?
คำถาม
Wh-
What
will/shall they be doing?
Who
will/shall be driving?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ will/shall not คือ won’t และ shan’t




3. Future Perfect Tense 
(อนาคตกาลสมบูรณ์)

 โครงสร้าง  :   
Subject + will + have +V3

1) ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ คาดว่าจะสิ้นสุดในช่วงเวลาที่กำหนดไว้
ในอนาคต โดยมักใช้กับ by + (by next week, by next month by the end of this year, by 2012, by 6 o’clock, etc.) เช่น
I will have completed my work by tomorrow.
(ฉันจะทำงานของฉันเสร็จสมบูรณ์ในวันพรุ่งนี้)
2) ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่คาดเดาว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดย…
  
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน จะใช้ Future Perfect Tense
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลัง จะใช้ Present Simple Tense
เช่น The kids will have woken up when we reach home.

(เด็กๆคงจะตื่นกันตอนเรากลับไปถึงบ้าน)
                              

วิธีการสร้างประโยค Future Perfect Tense

โครงสร้าง
Subject + will/shall + have + Verb 3
บอกเล่า
They will/shall have left by the time I arrive.
He will/shall have finished his work by 10 o’clock.
โครงสร้าง
Subject + will/shall + not + have + Verb 3
ปฏิเสธ
They will/shall not have left by the time I arrive.
He will/shall not have finished his work by 10 o’clock.
โครงสร้าง
Will + Subject + have + Verb 3?
คำถาม
Will/Shall they have left by the time I arrive?
Will/Shall he have finished his work by 10 o’clock?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + will + Subject + have + Verb 3?
คำถาม
Wh-
When
will/shall
they have left?
What
will/shall
he have finished his work?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ will/shall not คือ won’t และ shan’t



                  


4. Future Perfect Continuous Tense (อนาคตกาลสมบูรณ์ต่อเนื่อง)

 โครงสร้าง  :   
Subject + will + have +been +V-ing


1) มีวิธีการใช้เหมือนกับ Future Perfect Tense ต่างกันเพียงตรงที่ Future Perfect Continuous Tense นั้น เน้นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่ ดำเนินอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งและยังคงจะดำเนินต่อไปอีกในอนาคต โดยมักใช้กับ for + เพื่อแสดงระยะเวลาของเหตุการณ์ หรือ การกระทำนั้นๆ เช่น


By 2012, we will have been living in Bangkok for 7 years.
(ในปี 2012 ก็จะครบรอบที่เราออยู่ในกรุงเทพเป็นเวลา 7 ปีแล้ว)



2) ใช้กับเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ที่ ต้องการเน้นความต่อเนื่องของการกระทำใดการกระทำหนึ่งในอนาคต โดย… เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน จะใช้ Future Perfect Continuous Tense
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลัง จะใช้ Present Simple Tenseเช่น


 He shall have been cleaning his room for an hour when I visit him.
(เขาน่าจะกำลังทำความสะอาดห้องของเขาเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงแล้วในตอนที่ฉันไปหาเขา)


                            

วิธีการสร้างประโยค Future Perfect Continuous Tense

โครงสร้าง
Subject + will + have + been + V.-ing
บอกเล่า
You will/shall have been baking for one hour by 6 o’clock.
He will/shall have been jogging for two hours by the time I wake up.
โครงสร้าง
Subject + will + not + have + been + V.-ing
ปฏิเสธ
You will/ shall not have been baking for one hour by 6 o’clock.
He will/ shall not have been jogging for two hours by the time I wake up.
โครงสร้าง
Will + Subject + have + been + V.-ing?
คำถาม
Will/shall you have been baking by 6 o’clock?
Will/shall he have been jogging by the time I wake up?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + will + Subject + have + been + V.-ing?
คำถาม
Wh-
How long
will/shall you have been baking by 6 o’clock?
What
will/shall he have been doing by the time I wake up?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ will/shall not คือ won’t และ shan’t


 


        ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.dek-eng.com/

                        และภาพประกอบจาก www.google.com