เรซูเม (résumé)
หรือในชื่อไทยว่า
"ประวัติการเรียนและประวัติการงาน"
เรซูเมเองนั้นจะมีเรียกกันว่า ซีวี (CV
- curriculum vitae)
โดยคำว่า"เรซูเม" เป็นคำเรียกของฝั่งสหรัฐฯ
แต่เขาอ่านกันว่า เร-เซอ-เม
ในขณะเดียวกัน
ทางฝั่งอังกฤษและแถบยุโรปเรียกกันว่า "ซีวี"
คำอ่านของเรซูเม ถ้าสังเกตตัวสะกดคำว่า résumé
(ใครได้อ่านเรื่อง e นั่นและ é นี่ คง
จะอ๋อกันแล้ว) ที่ตัว é
ออกเสียง [เอ]
ในขณะเดียวกันคำว่าเรซูเม
มักนิยมพิมพ์ resume กันเพราะตัว é มันพิมพ์กันยาก
ซึ่งอาจจะสับสนกับคำว่า resume (รีซูม)
ที่แปลว่า กลับมาดังเดิม ได้
ภาพจาก MichaelMarlatt cc-by-nc-sa
เรซูเม
คือ
ประวัติการเรียนและประวัติการงาน ซึ่งเป็นเอกสารที่รวบรวม
ประวัติ
การเรียนและการทำงาน
ของเราทั้งหมดไว้อย่างสรุป (เน้นอย่างสรุป)
โดยใช้เป็นเอกสารอีกแผ่นในการยื่นสมัครงานร่วมกันจดหมายสมัครงาน
เพื่อบอกให้ทางบริษัทรับรู้ว่าเราคือใครได้ภายในสิบวินาทีที่อ่าน
เรซูเมของเรา ส่วนประกอบของเรซูเมทั่วไปจะประกอบด้วย
จุดประสงค์
- จุดประสงค์ของการสมัครงาน บอกสั้นๆ ว่า
เราต้องการทำอะไรให้กับบริษัท บอกว่าเราจะเป็นส่วนไหน
ในบริษัท ไม่ต้องบอกจุดประสงค์ เป้าหมายชีวิตเราว่า
ห้าปีสิบปีจะทำอะไร อยากเปิดบริษัทของตัวเอง อยากรีไทร์
อายุ 45 พวกนี้ไม่ต้องบอก พยายามเก็บประโยคส่วนนี้สั้นๆ
ซักหนึ่งหรือสองประโยค
เราต้องการทำอะไรให้กับบริษัท บอกว่าเราจะเป็นส่วนไหน
ในบริษัท ไม่ต้องบอกจุดประสงค์ เป้าหมายชีวิตเราว่า
ห้าปีสิบปีจะทำอะไร อยากเปิดบริษัทของตัวเอง อยากรีไทร์
อายุ 45 พวกนี้ไม่ต้องบอก พยายามเก็บประโยคส่วนนี้สั้นๆ
ซักหนึ่งหรือสองประโยค
เรียนจบจากไหน
- โดยใส่ว่าเรียนจบจากที่ไหน เรียนช่วงระหว่าง
ปีไหนถึงปีไหน
และเกรดเฉลี่ยตอนจบเท่าไร โดยส่วนใหญ่
ใส่สถานที่เรียนเฉพาะระดับอุดมศึกษา
หรืออนุปริญญา
โดยไม่จำเป็นต้องใส่ระดับอนุบาล ประถม หรือแม้แต่มัธยม
เพราะคนรับสมัครงานเขาไม่สนใจว่าคุณจะจบอนุบาลที่ไหน
ทำงานที่ไหนมาบ้าง - ใส่รายละเอียดชื่อบริษัท ตำแหน่งที่ทำงาน และหน้าที่รับผิดชอบของงานที่ทำ ถ้าทำหลายที่ ให้ใส่บริษัทล่าสุดไว้บนสุด และถ้าทำงานหลายตำแหน่งในบริษัท ก็ให้ใส่แยกกัน
ทำงานที่ไหนมาบ้าง - ใส่รายละเอียดชื่อบริษัท ตำแหน่งที่ทำงาน และหน้าที่รับผิดชอบของงานที่ทำ ถ้าทำหลายที่ ให้ใส่บริษัทล่าสุดไว้บนสุด และถ้าทำงานหลายตำแหน่งในบริษัท ก็ให้ใส่แยกกัน
โดยอธิบายรายละเอียดว่า
ได้ทำอะไรให้บริษัทบ้างในบริษัทนั้น
โดยใส่เฉพาะส่วนเด่นๆ เพียงพอ
พวกชงกาแฟ
กับถ่ายเอกสารก็คงไม่ต้องใส่ไป
ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ - ปัจจุบันส่วนนี้ค่อนข้างสำคัญ
แล้วบอกไปในเรซูเมว่า
มีความรู้ความสามารถด้านไหน
ทำโปรแกรมอะไรเป็นบ้าง และที่สำคัญอย่าโม้มาก
(โม้เล็กน้อยพองาม) ถ้าโม้มาก ตอนไปสัมภาษณ์รับรอง
โดนจับได้ไม่ยาก
นอกจากนี้ถ้าสมัครงานในบริษัทคอมพิวเตอร์
ก็ไม่ต้องบอกไปว่าใช้วินโดวส์ได้
บอกเฉพาะเนื้อๆ เป็นพอ
กิจกรรมและรางวัลที่ได้รับ
- บอกว่าได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาวิทยาลัย หรือกิจกรรมของบริษัท
ได้ร่วมทำอะไรบ้าง
แสดงถึงตัวคุณว่าสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้แค่ไหน
มีความเป็นผู้นำแค่ไหน และแสดงว่าคุณทำได้
แสดงถึงตัวคุณว่าสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้แค่ไหน
มีความเป็นผู้นำแค่ไหน และแสดงว่าคุณทำได้
นอกเหนือจากการเรียนอย่างเดียว
ข้อมูลติดต่อ - อย่าลืมข้อมูลที่ติดต่อตัวคุณได้ เบอร์โทรศัพท์
ข้อมูลติดต่อ - อย่าลืมข้อมูลที่ติดต่อตัวคุณได้ เบอร์โทรศัพท์
อีเมล ที่อยู่
และอย่าลืมใส่ชื่อนามสกุลตัวเองลงไป สัดส่วนกับ
ภาพถ่ายไม่ต้องใส่
(แต่ได้ยินว่าในไทยบางทีให้ใส่รูปถ่ายด้วย
เพราะคนรับสมัครงาน
จะได้ตัดสินคนสมัครจากหน้าตา
นอกเหนือจากความสามารถ )
ความยาวของเรซูเมไม่ควรเกินหนึ่งแผ่น หรืออย่างมากสุด
ก็ไม่เกินสอง
เคยเห็นบางคนเขียนเรซูเมมาห้าหน้า
ประมาณว่า
เล่นใส่ทุกอย่างตั้งแต่เกิดเลย อันนี้ก็ไม่จำเป็น
คนรับสมัครงาน
เขาไม่สนใจว่าคุณจะเรียนจบอนุบาล หรือประถมจากไหน
หรือแม้แต่เรียนจบมัธยมจากไหนด้วยซ้ำ (แต่บางแห่งในไทย
พวกที่เล่นสีก็จะชอบถ้าจบมาที่เดียวกัน)
สุดท้ายข้อคิดในการเขียนเรซูเม
ให้สมมุติตัวเองเป็นคนรับสมัคร
และกำลังอ่านเรซูเม ถามตัวเองดูว่า
ถ้าคนแบบนี้มาสมัคร
เราจะรับเขาไหม แล้วเราจะรู้ได้เองว่า
ข้อมูลไหนที่ไม่ควรใส่
ให้ตัดออก ข้อมูลไหนยาวและย่อได้ให้ทำให้กระชับ
และข้อมูลไหน
ที่ไม่ชัดเจนให้เขียนเพิ่มเติมอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ข้อมูลทั้งหมดมาจากประสบการณ์สมัครงานในอเมริกา
ซึ่งรายละเอียดย่อยเกี่ยวกับเรซูเมในไทย อาจลองกูเกิลเพิ่มดูได้
ใครสนใจเกี่ยวกับเรื่องสมัครงาน ลองแวะดูได้ที่ http://itshee.exteen.com/20081123/entry
7 องค์ประกอบสำคัญของประวัติย่อ
เนื้อหาของ ประวัติย่อ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าไม่ทราบเรื่องเหล่านี้แล้ว จะเขียน Resume ให้ดีได้ยาก ส่วนประกอบของประวัติย่อ
- หัวเรื่อง (Heading) ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุด ส่วนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก (Low case letters)
- จุดมุ่งหมาย (Objective) จุดมุ่งหมายหรือตำแหน่งที่ต้องการสมัคร (Career objective/Position sought) ถ้าต้องการสมัครในตำแหน่งใด ก็ให้ระบุชื่อตำแหน่งนั้น หรือไม่ก็อาจจะบอกเป็นสายงานที่ตนต้องการทำก็ได้
- การศึกษา (Education) เช่น
จบจากไหน สาขาวิชาอะไร จบเมื่อไร แล้วให้ระบุการศึกษา จบมาล่าสุดไว้ก่อน
กล่าวคือ อาจจะเรียงการศึกษา
ชั้นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ซึ่งโดยมากขั้นต่ำสุด ระบุแค่ชั้นมัธยม
ไม่ต้องไปถึงชั้นประถม ผลการเรียนเป็นอย่างไร การศึกษาหลักสูตรพิเศษอื่นๆ
มีอะไรบ้าง
อะไรคือวิชาเอก (Major) วิชาโท (Minor) ส่วนปริญญาที่ได้รับ
ก็ไม่ควรใช้คำย่อ ควรมีคำเต็มกำกับ และในกรณี ที่จบจากต่างประเทศ
ก็ควรระบุประเทศ
ที่จบการศึกษานั้นๆ มาด้วย เช่น Master of Business Administration (MBA),
USA,
(ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา)
- ส่วนการเขียนชื่อสถาบันการศึกษา และวิชาที่จบนั้น เราสามารถดูได้จากใบแสดงวุฒิ หรือผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น Degree Certificate, Transcript หรือ Mark Sheet ก็ได้ หรือถ้าเขียน เป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก ก็อาจจะดูได้จากบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ หรือถามจากผู้ที่รู้ก็ได้
- ประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ในการทำงานนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการสมัครงาน เพราะนายจ้างสามารถใช้รายละเอียดเหล่านี้ นำไปพิจารณาเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า เหมาะสมกับงานในหน่วยงานของตนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วนักศึกษาจบใหม่ จะมีประสบการณ์น้อย หรือแทบไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควร ระบุงานที่เคยทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทำเต็มเวลา (Full-time) หรือทำไม่เต็มเวลา (Part-time) ก็ตาม หรือแม้แต่งานที่ทำโดยไม่มีค่าจ้างตอบแทนก็ตาม ซึ่งก็อาจจะเป็นกิจกรรมพิเศษ หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Special-Activities Or Extra-curriculum activities) เช่น เคยเป็นผู้นำนักศึกษา หรือหัวหน้าทีมนักกีฬา เป็นต้น
- ในกรณีที่เคยทำงานเต็มเวลา (Full-time employment) มาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงงานที่ทำไม่เต็มเวลา หรือกิจกรรมอื่นๆ มากนัก และควรบอกรายละเอียด ที่สำคัญของงานที่เคยทำคือ
- วันเดือนปีที่เคยทำงาน (Date of employment)
- ชื่อและที่อยู่ของสถานที่ว่าจ้าง (Company''s name and address)
- คุณสมบัติพิเศษ (Special Qualifications) เกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมี ถ้าไม่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ก็ตัดออกไป คุณสมบัติพิเศษที่กล่าวถึงนี้ เช่น ความสามารถทางด้านภาษา ด้านการเขียน หรือขับรถยนต์ได้ รู้เส้นทางดี เป็นต้น
- รายละเอียดส่วนตัว (Personal Details) รายละเอียดส่วนตัวประกอบด้วย
- Sex = เพศ
- age = อายุ
- Date of birth = วันเดือนปีเกิด
- height = ความสูง
- weight =น้ำหนัก
- health = สุขภาพ (ใช้ good health หรือ Excellent)
- address = ที่อยู่
- Marital status = สถานภาพการสมรส (Married/Single) หรืออาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม
- religion = ศาสนา
- Military status = สถานภาพทางทหาร
- Place of birth = สถานที่เกิด
- nationality = สัญชาติ
- race = เชื้อชาติ
- บุคคลอ้างอิง (References) บุคคลที่เป็นนายจ้างเก่าของเรา จะเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เป็นบุคคลอ้างอิง แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้ออกจากงาน กลัวนายจ้างจะรู้ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็น ครู อาจารย์ที่เคยสอน เพื่อนร่วมธุรกิจ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ต้องไม่ใช่ญาติ หรือเพื่อนสนิทของเรา และที่เรียกว่าบุคคลอ้างอิง อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่จะสามารถ ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของเราได้ และควรอ้างมา 2-3 ท่าน พร้อมทั้งที่อยู่ที่จะติดต่อได้ และอาชีพของเขาเหล่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : itshee.exteen.com ภาพประกอบจาก : /www.google.co.th - ส่วนการเขียนชื่อสถาบันการศึกษา และวิชาที่จบนั้น เราสามารถดูได้จากใบแสดงวุฒิ หรือผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น Degree Certificate, Transcript หรือ Mark Sheet ก็ได้ หรือถ้าเขียน เป็นภาษาอังกฤษไม่ถูก ก็อาจจะดูได้จากบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้ หรือถามจากผู้ที่รู้ก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น